ประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีนี้ขึ้น ก็เนื่องมาจากมีพระภิกษุสงฆ์ได้เดินไปเหยียบย้ำต้นกล้าในนาของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงอนุญาติให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรสามารถอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ่น 15 ค่ำเดือน 11 โดยในช่วงเข้าพรรษานี้ชาวบ้านนิยมนำเทียนมาถวายพระภิกษุ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เฉลียวฉลาดและมีไหวพริบประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียน
ประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นชาวบ้านนิยมถวายเทียน ก็เนื่องมาจากสมัยก่อนั้นพระภิกษุไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้นเพื่อถวายแก่พระภิกษุให้ใช้ในการจุดเพื่อปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ในช่วงจำพรรษา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายนั้นชาวบ้านนิยมแห่กันอย่างเอิกเกริกและปฏิบัติสืบทอดกันมากลายเป็นประเพณี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จึงเป็นประเพณีที่หลอมรวมความผูกพันของชาวบ้านที่ร่วมกันบริจาคเทียนเพื่อหลอมเป็นเทียนเล่มใหญ่ เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของชาวบ้าน ในการทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบนเทียนนั้น ล้วนแต่เป็นฝืมือของช่างในท้องถิ่นนั้นๆ ส่วนการจัดขบวนแห่ก็ใช้แต่ของพื้นเมือง เช่น การแต่งกาขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิตการทำมาหากินของชาวบ้าน ดนตรีประกอบก็เป็นดนตรีจากท้องถิ่น ผสมกับการขับร้องที่สนุกสนาน ทำให้งานประเพณีนั้นยิ่งใหญ่ที่ชาวบ้านต่างรอคอย
PDF : http://pdfcast.org/pdf/1352821495
skip to main |
skip to sidebar
Twitter
หน้าเว็บ
แหล่งรวบรวมประเพณีไทยในแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ กลาง อีสาน หรือภาคใต้ วัฒนะธรรม การละเล่นต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่น
เกี่ยวกับฉัน
Blog Archive
Tags
การลอยโขมด
การแห่นางแมว
เข้าพรรษา
โคมลอย
ตักบาตรเทโว
ปฏิทินสุริยคติ
ประเทศไทย
ประเพณีตรุษจีน
ประเพณีนบพระเล่นเพลง
ประเพณีภาคเหนือ
ประเพณีลากพระ
ประเพณีวันลอยกระทง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีอัฐมีบูชา
พระเกตุแก้วจุฬามณี
พระบรมธาตุหริภุญชัย
พระแม่คงคา
แม่น้ำนัมทามหานที
รอยพระพุทธบาท
วัฒนธรรมภาคใต้
วันขึ้นปีใหม่
วันปวารณา
วันเพ็ญเดือนสิบสอง
วันลอยกระทง
วันสงกรานต์
วิสาขบูชา
สมัยพุทธกาล
ออกพรรษา
เฮือไฟ
สถิติเว็บไซต์
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น