ในสังคมของไทยเรานั้นส่วนใหญ่แล้วจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นปัจจัยของความสมบูรณ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับฝนเป็นหลัก และชาวนาส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าการพึ่งพิงอำนาจที่เหนือธรรมชาติ ว่าปีใดฝนเกิดแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวนาทั้งหลายก็จะไม่สามารถทำนาได้เนื่องจากไม่มีน้ำ จึงทำให้เกิดพิธีกรรมที่เรียกว่า “การแห่นางแมว” ซึ่งเป็นความเชื่อในการประกอบพิธีขอฝนให้ตกตามฤดูกาลได้
โดยในพิธีจะใช้ชะลอมตกแต่งให้สวยงามและนำแมวมาใส่ในชะลอม มัดชะลอมให้แน่นกับคานแล้วแห่ไปรอบหมู่บ้าน ในระหว่างแห่นางแมวจะมีการร้องเพลงและขบวนกลองยาวคอยให้จังหวะเป็นที่ครื้นเครง เมื่อขบวนแวะหรือผ่านบ้านใครก็จะรดน้ำแมวและให้อาหาร เหล้าและอื่นๆ และเมื่อแห่ครบทุกบ้านแล้วก็จะนำข้าวปลาอาหารมากินเลี้ยงกัน หรืออาจจะแห่ไปเรื่อยๆ จากเช้าจนถึงค่ำ
พิธีกรรมแห่นางแมวยังแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนช่วยให้กลุ่มคนที่มีอาชีพเกษตรกรรมได้กลับมารวมตัวทำให้เกิดความสร้างสรรค์สามารถทำให้ชุมชนชาวนามีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้นด้วย
PDF : http://pdfcast.org/pdf/1352821293
skip to main |
skip to sidebar
Twitter
หน้าเว็บ
แหล่งรวบรวมประเพณีไทยในแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ กลาง อีสาน หรือภาคใต้ วัฒนะธรรม การละเล่นต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่น
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เกี่ยวกับฉัน
Blog Archive
Tags
การลอยโขมด
การแห่นางแมว
เข้าพรรษา
โคมลอย
ตักบาตรเทโว
ปฏิทินสุริยคติ
ประเทศไทย
ประเพณีตรุษจีน
ประเพณีนบพระเล่นเพลง
ประเพณีภาคเหนือ
ประเพณีลากพระ
ประเพณีวันลอยกระทง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีอัฐมีบูชา
พระเกตุแก้วจุฬามณี
พระบรมธาตุหริภุญชัย
พระแม่คงคา
แม่น้ำนัมทามหานที
รอยพระพุทธบาท
วัฒนธรรมภาคใต้
วันขึ้นปีใหม่
วันปวารณา
วันเพ็ญเดือนสิบสอง
วันลอยกระทง
วันสงกรานต์
วิสาขบูชา
สมัยพุทธกาล
ออกพรรษา
เฮือไฟ
สถิติเว็บไซต์
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น