ในวันลอยกระทงนั้นผู้คนจะทำกระทง โดยกระทงนั้นจะทำจากวัสดุต่างๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และใส่เหรียญ เส้นผมหรือเล็บลงไป แล้วนำไปลอยน้ำเพื่อเป็นการลอยเคราะห์ หรือขอขมาและบูชาพระแม่คงคา
เชื่อกันว่าประเพณีวันลอยกระทงนั้นเริ่มมีแต่ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเรียกว่าพิธีจองเปรียง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก และได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใส่เทียนประทีบ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าประเพณีวันลอยกระทงไม่น่าจะเก่ากว่ากรุงรัตนโกสินตอนต้น ซึ่งดูจากหลักฐานภาพจิตกรรมการสร้างกระทงต่างๆ ในสมัยรัชการที่ 1
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
- ภาคเหนือตอนบน ชาวเหนือจะเรียกประเพณีนี้ว่า “ยี่เป็ง” ซึ่งหมายถึงการทำบุญในเดือนยี่ นิยมทำโคมลอย ซึ่งทำมาจากผ้าแล้วสุมควันให้ลอยไปบนอากาศ
- ภาคอีสาน ในอดีตนั้นมีการเรียกประเพณีวันลอยกระทงว่า “สิบสองเพ็ง” ซึ่งก็หมายความว่าวันเพ็ญเดือนสิบสอง และจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด จะเรียกว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” จังหวัดนครพนม จะแต่งเรือแล้วประดับไฟรูปแบบต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ”
- ภาคกลาง ที่กรุงเทพฯ นั่นจะจัดขึ้นที่ภูเขาทองเป็นลักษณะงานวัด โดยจะจัดก่อนลอยกระทง 7-10 วัน
- ภาคใต้ ก็จะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ อ.หาดใหญ่ หรือจังหวัดสงขลา
PDF : ประเพณีไทย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น