วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณียี่เป็ง ประเพณีลอยกระทงชาวล้านนาไทย

ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีไทยของชาวล้านนา ที่สอบทอดกันมาตั้งแตโบราณ ซึ่งคำว่า ยี่ แปลว่า สอง คำว่า เป็ง แปลว่า เพ็ญ หมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย อันเป็นช่วงปลายๆ ฤดูฝน และธรรมเนียมการปฏิบัติของชาวล้านนานั้นนอกจากลอยกระทงแล้ว คือการจุดโคมลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าสว่างไสว ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ บ้างก็เชื่อกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต


ในพงศาวดารโยนกและจามเทวีมีบันทึกไว้ว่าได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวล้านนาต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี เป็นเวลาถึง 6 ปี จึงสามารถกลับมาบ้านเมืองเดิมได้ เมื่อครั้นเวียนมาถึงวันที่ต้องจากบ้านเมืองไป ก็ได้มีการทำกระถางเพื่อใส่ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำเพื่อให้ถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ ซึ่งผู้คนจะประดับบ้านเรือน หรือวัดวาอารามด้วย ต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ จะมีการจุดโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี โดยเชื่อกันว่าเปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้

งานประเพณีจะมีสามวันคือ
  • วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันที่เตรียมซื้อของไปทำบุญที่วัด
  • วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญที่วัด พร้อมกับทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัด และนำอาหารมาใส่เพื่อทำทานแก่คนยากจน
  • วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงส่วนตัวไปลอยในแม่น้ำ
อ้างอิง : http://www.paiduaykan.com 
PDF : ประเพณียี่เป็ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น