วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน


พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานที่สำของจังหวัดลำพูน โดยเป้นหนึ่งในเจดีย์ 8 องค์ที่เก่าแก่ของประเทศไทย ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตย์ราชพระบรมธาตุหริภุญชัย และเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป โดยประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุนั้น เป็นประเพณีไทยที่ยิ่งใหญ่ และเป็นที่สนใจของคนจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งยืดถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีแห่นางแมว

ในสังคมของไทยเรานั้นส่วนใหญ่แล้วจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นปัจจัยของความสมบูรณ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับฝนเป็นหลัก และชาวนาส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าการพึ่งพิงอำนาจที่เหนือธรรมชาติ ว่าปีใดฝนเกิดแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวนาทั้งหลายก็จะไม่สามารถทำนาได้เนื่องจากไม่มีน้ำ จึงทำให้เกิดพิธีกรรมที่เรียกว่า “การแห่นางแมว” ซึ่งเป็นความเชื่อในการประกอบพิธีขอฝนให้ตกตามฤดูกาลได้

โดยในพิธีจะใช้ชะลอมตกแต่งให้สวยงามและนำแมวมาใส่ในชะลอม มัดชะลอมให้แน่นกับคานแล้วแห่ไปรอบหมู่บ้าน ในระหว่างแห่นางแมวจะมีการร้องเพลงและขบวนกลองยาวคอยให้จังหวะเป็นที่ครื้นเครง เมื่อขบวนแวะหรือผ่านบ้านใครก็จะรดน้ำแมวและให้อาหาร เหล้าและอื่นๆ และเมื่อแห่ครบทุกบ้านแล้วก็จะนำข้าวปลาอาหารมากินเลี้ยงกัน หรืออาจจะแห่ไปเรื่อยๆ จากเช้าจนถึงค่ำ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีนี้ขึ้น ก็เนื่องมาจากมีพระภิกษุสงฆ์ได้เดินไปเหยียบย้ำต้นกล้าในนาของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงอนุญาติให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรสามารถอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ่น 15 ค่ำเดือน 11 โดยในช่วงเข้าพรรษานี้ชาวบ้านนิยมนำเทียนมาถวายพระภิกษุ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เฉลียวฉลาดและมีไหวพริบประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียน

ประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นชาวบ้านนิยมถวายเทียน ก็เนื่องมาจากสมัยก่อนั้นพระภิกษุไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้นเพื่อถวายแก่พระภิกษุให้ใช้ในการจุดเพื่อปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ในช่วงจำพรรษา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายนั้นชาวบ้านนิยมแห่กันอย่างเอิกเกริกและปฏิบัติสืบทอดกันมากลายเป็นประเพณี

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษาของไทย ตรงกับวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด เป็นวันที่พระภิกษุสงฑ์ต้องอยู่จำวัดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หมายถึง วันที่พระภิกษุต่างตักเตือนซึ้งกันและกันโดยไม่มีการโกรธเคือง กล่าวถึงเรื่องบกพร่องต่างๆ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ได้อยู่ร่วมกัน และผู้ที่ถูกกล่าวเตือนต้องยอมรับและพิจรณาตนเอง ซึ่งผู้ที่กล่าวตักเตือนนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่มีความปราถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าว หลักการปฏิบัตินี้สามารถนำมาปฏิบัติหรือใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนหรือการพัฒนาองค์กรได้เป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีภาคอีสาน บางทีเรียกว่า "เฮือไฟ" ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา เพื่อบูชารอยพระพุธทบาทของพระสัมมาสัมพุธเจ้า โดยประวัติความเป็นมานั้นพระพุทธเจ้าทรงเสร็จไปแสดงธรรมเทศนาพญานาค ณ เมืองบาดาล ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และพญานาคได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ ซึ่งต่อมาทั้งเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งได้ได้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาท และประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาแม่น้ำที่ได้ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูล ลงในแม่น้ำ และเป็นการเผาเอาความทุกข์ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมจัดกันในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในส่วนของเรื่อไฟจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ โดยจะนำไม้ที่ลอยน้ำมาผูกติดกับแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ จะอยู่ส่วนบนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ยาวตั้งล้ำขึ้นทั้ง 3 ลำ ซึ้งใช้สำหรับรับน้ำหนังไม้ไผ่เล็กๆ ที่ผูกรวมยืดกันไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยม เรียกแผง และวางแผนงานว่าจะออกแบบแผงออกเป็นรูปอะไร ซึ่งในสมัยก่อนนิยมออกแบบเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณียี่เป็ง ประเพณีลอยกระทงชาวล้านนาไทย

ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีไทยของชาวล้านนา ที่สอบทอดกันมาตั้งแตโบราณ ซึ่งคำว่า ยี่ แปลว่า สอง คำว่า เป็ง แปลว่า เพ็ญ หมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย อันเป็นช่วงปลายๆ ฤดูฝน และธรรมเนียมการปฏิบัติของชาวล้านนานั้นนอกจากลอยกระทงแล้ว คือการจุดโคมลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าสว่างไสว ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ บ้างก็เชื่อกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาประเพณีวันลอยกระทงของไทย

วันลอยกระทงเป็นประเพณีไทยที่สำคัญประเพณีหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ โดยประเพณีวันลอยกระทงนั้น จัดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคา สำหรับประเพณีวันลอยกระทงนั้น จะจัดทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะ บริเวณที่ติดแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำต่างๆ และก็จะมีเอกลักษณ์ในแต่ละภาคแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทงนั้นผู้คนจะทำกระทง โดยกระทงนั้นจะทำจากวัสดุต่างๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และใส่เหรียญ เส้นผมหรือเล็บลงไป แล้วนำไปลอยน้ำเพื่อเป็นการลอยเคราะห์ หรือขอขมาและบูชาพระแม่คงคา