วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน


พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานที่สำของจังหวัดลำพูน โดยเป้นหนึ่งในเจดีย์ 8 องค์ที่เก่าแก่ของประเทศไทย ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตย์ราชพระบรมธาตุหริภุญชัย และเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป โดยประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุนั้น เป็นประเพณีไทยที่ยิ่งใหญ่ และเป็นที่สนใจของคนจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งยืดถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี


วัตถุประสงค์ของประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย มีดังนี้

1.เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ของวัดพระบรมธาตุหริภุญชัย และนับเป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวลำพูนและชาวพุทธทั่วไป

2.เพื่อสักการะพระบรมอัฐิธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3.เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนลำพูนถือว่าเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมืองทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยจึงได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย

โดยกำหนดการจัดขึ้น ณ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า "วันแปดเป็ง" หรือวัน "วิสาขบูชา"

หลังจากเสร็จพิธรการสรงน้ำพระราชทานและน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว จะมีขบวน "ครัวทาน" จากจังหวัดต่างๆ แห่เพื่อนมัสการและสักการะพระบรมธาตุ โดยขบวนจะตกแต่งเป็นเรื่องทางพุทธประวัติหรือมหาชาติที่ให้คติธรรม ในขบวนจะประกอบไปด้วย ธงทิว การแสดงศิลปพื้นบ้าน การบรรเลงดนตรีพื้นเมืองที่ครึกครึ้น ในช่วงกลางคืนจะเริ่มพิธีเวลา 18.00 น. พระสงฆ์ 20 รูป พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนต่างๆ จะประกอบพิธีเวียนเทียนประทักษิณองค์พระบรมธาตุ 3 รอบ และพระสงฆ์แยกย้ายเข้าประจำพระวิหารทั้ง 4 ทิศ เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์สวดเบิกวิหารละ 4 วาร (วาระ) เป็นเสร็จพิธี

คำบูชาพระบรมธาตุหริภุญชัย
สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฏฐรัง สะทะอังคุลีฏฐัง
กัจจายะเนนตินะ ปัตตะปูรัง สีเสนะมัยหัง ปาณะมามิธาตุง อะหังวันทามิสัพพะทา

ข้าพเจ้า ขอเอาเศียรเกล้าของข้าพเจ้า นอบน้อมพระธาตุ อันเป็นเจดีย์ทอง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหริภุญชัย คือ พระอัฏฐิเบื้องพระทรวงอันประเสริฐ กับทั้งพระอัฏฐิพระองคลี และพระธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่ง อันพระกัจจายะนะนำมา ข้าพเจ้าขอวันทาในกาละทุกเมื่อแล

ที่มา : http://www.baanjomyut.com
PDF : http://pdfcast.org/pdf/1353594138

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น