skip to main |
skip to sidebar
วันสงกรานต์ เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทยมาแต่โบราณ ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศที่งดงาม อ่อนโยน ความกตัญญู ความอบอุ่น แลการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน โดยการใช้นำเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อกัน
ในปัจจุบันโดยหลักสากลแล้วเราจะนับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในการดำเนินกิจกรรมที่ชุมชนได้ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร การอุทิศส่วนกุศลแต่บรรพบุรุษ การสงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำ และการละเล่นรื่นเริ่งต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะยังถือประเพณีสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยๆ
ช่วงเทศการสงกรานต์นั้น จะตรงกับวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนที่ทำงานยังท้องถิ่นอื่นๆ ได้กลับถิ่นฐานของตนเพื่อร่วมทำบุญ เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ บุพการี เพื่อเล่นสนุกสนานกับครอบครัวและเพื่อนฝูง
นอกจากประเทศไทยแล้ว หลายๆ ประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้น เช่น มอญ พม่า เขมร และลาว ต่างก็ถือวันสงกรานต์เป็นประเพณีฉลองขึ้นปีใหม่เช่นเดียวกัน เพียงแต่ประเทศไทยของเราได้มีการสืบสานและวิวัฒนาการประเพณีสงกรานต์จนมีเอกลักษณ์โดนเด่นกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ แม้แต่ชาวต่างชาติยังรู้จักและให้ความสนใจประเพณีเป็นอย่างดี
สงกรานต์ เป็นประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีน หรือที่เรียกรวมๆ กันว่าประเพณีตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะหมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของไทย ก่อนจะมาใช้ในวันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ. 2483 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
ในสมัยก่อนนั้นไทยเราถือวันเริม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสมัยก่อนนั้นถือว่าฤดูเหมันต์ (ฤดูหนาว) เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ ราวๆ ปลายเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมและได้มีการเปลี่ยนแปลงตามคติพราหมณ์ จากการสังเกตธรรมชาติ และฤดูการผลิต จึ่งเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการนับปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช โดยถือวันมหาสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่
ครั้นในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) ได้กำหนดวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งนับตามทางสุริยคติแทน จนปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้ประกาศวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่แทน ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม และใช้มาจนปัจจุบัน
ที่มา : baanjomyut.com
PDF : http://pdfcast.org/pdf/1356355927
Twitter
หน้าเว็บ
แหล่งรวบรวมประเพณีไทยในแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ กลาง อีสาน หรือภาคใต้ วัฒนะธรรม การละเล่นต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ประเพณีสงกรานต์
วันสงกรานต์ เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทยมาแต่โบราณ ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศที่งดงาม อ่อนโยน ความกตัญญู ความอบอุ่น แลการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน โดยการใช้นำเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อกัน
ในปัจจุบันโดยหลักสากลแล้วเราจะนับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในการดำเนินกิจกรรมที่ชุมชนได้ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร การอุทิศส่วนกุศลแต่บรรพบุรุษ การสงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำ และการละเล่นรื่นเริ่งต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะยังถือประเพณีสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยๆ
ช่วงเทศการสงกรานต์นั้น จะตรงกับวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนที่ทำงานยังท้องถิ่นอื่นๆ ได้กลับถิ่นฐานของตนเพื่อร่วมทำบุญ เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ บุพการี เพื่อเล่นสนุกสนานกับครอบครัวและเพื่อนฝูง
นอกจากประเทศไทยแล้ว หลายๆ ประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้น เช่น มอญ พม่า เขมร และลาว ต่างก็ถือวันสงกรานต์เป็นประเพณีฉลองขึ้นปีใหม่เช่นเดียวกัน เพียงแต่ประเทศไทยของเราได้มีการสืบสานและวิวัฒนาการประเพณีสงกรานต์จนมีเอกลักษณ์โดนเด่นกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ แม้แต่ชาวต่างชาติยังรู้จักและให้ความสนใจประเพณีเป็นอย่างดี
สงกรานต์ เป็นประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีน หรือที่เรียกรวมๆ กันว่าประเพณีตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะหมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของไทย ก่อนจะมาใช้ในวันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ. 2483 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
ในสมัยก่อนนั้นไทยเราถือวันเริม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสมัยก่อนนั้นถือว่าฤดูเหมันต์ (ฤดูหนาว) เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ ราวๆ ปลายเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมและได้มีการเปลี่ยนแปลงตามคติพราหมณ์ จากการสังเกตธรรมชาติ และฤดูการผลิต จึ่งเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการนับปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช โดยถือวันมหาสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่
ครั้นในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) ได้กำหนดวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งนับตามทางสุริยคติแทน จนปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้ประกาศวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่แทน ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม และใช้มาจนปัจจุบัน
ที่มา : baanjomyut.com
PDF : http://pdfcast.org/pdf/1356355927
เกี่ยวกับฉัน
Tags
การลอยโขมด
การแห่นางแมว
เข้าพรรษา
โคมลอย
ตักบาตรเทโว
ปฏิทินสุริยคติ
ประเทศไทย
ประเพณีตรุษจีน
ประเพณีนบพระเล่นเพลง
ประเพณีภาคเหนือ
ประเพณีลากพระ
ประเพณีวันลอยกระทง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีอัฐมีบูชา
พระเกตุแก้วจุฬามณี
พระบรมธาตุหริภุญชัย
พระแม่คงคา
แม่น้ำนัมทามหานที
รอยพระพุทธบาท
วัฒนธรรมภาคใต้
วันขึ้นปีใหม่
วันปวารณา
วันเพ็ญเดือนสิบสอง
วันลอยกระทง
วันสงกรานต์
วิสาขบูชา
สมัยพุทธกาล
ออกพรรษา
เฮือไฟ
สถิติเว็บไซต์
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
1 ความคิดเห็น:
อยากให้เผยแพร่ประเพณีไทยต่อไปครับ
แสดงความคิดเห็น