skip to main |
skip to sidebar
วันอัฏฐมี คือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปะโยคและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกพระพุทธคุณของพระพทุธเจ้า
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอัฏฐมีบูชา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมกับประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้ร่วมใจกันทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความหดหู่สลดใจ และวิปโยคโศกศัลย์ เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาประจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้ร่วมกันกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบข้อพิสูจน์ ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่
ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย
การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติเหมือนกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองที่ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาเมื่อใดไม่ปรากฏชัดเจน ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการส่งเสริมจากทางหน่วยงานภาครัฐบาล และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลีก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๙ วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก
ที่มา : buddhismm.wikispaces.com
Twitter
หน้าเว็บ
แหล่งรวบรวมประเพณีไทยในแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ กลาง อีสาน หรือภาคใต้ วัฒนะธรรม การละเล่นต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่น
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ประเพณีอัฐมีบูชา
วันอัฏฐมี คือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปะโยคและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกพระพุทธคุณของพระพทุธเจ้า
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอัฏฐมีบูชา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมกับประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้ร่วมใจกันทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความหดหู่สลดใจ และวิปโยคโศกศัลย์ เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาประจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้ร่วมกันกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบข้อพิสูจน์ ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่
ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย
การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติเหมือนกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองที่ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาเมื่อใดไม่ปรากฏชัดเจน ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการส่งเสริมจากทางหน่วยงานภาครัฐบาล และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลีก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๙ วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก
ที่มา : buddhismm.wikispaces.com
เกี่ยวกับฉัน
Tags
การลอยโขมด
การแห่นางแมว
เข้าพรรษา
โคมลอย
ตักบาตรเทโว
ปฏิทินสุริยคติ
ประเทศไทย
ประเพณีตรุษจีน
ประเพณีนบพระเล่นเพลง
ประเพณีภาคเหนือ
ประเพณีลากพระ
ประเพณีวันลอยกระทง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีอัฐมีบูชา
พระเกตุแก้วจุฬามณี
พระบรมธาตุหริภุญชัย
พระแม่คงคา
แม่น้ำนัมทามหานที
รอยพระพุทธบาท
วัฒนธรรมภาคใต้
วันขึ้นปีใหม่
วันปวารณา
วันเพ็ญเดือนสิบสอง
วันลอยกระทง
วันสงกรานต์
วิสาขบูชา
สมัยพุทธกาล
ออกพรรษา
เฮือไฟ
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น